ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 สปริงนิวส์ รายงานว่า ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดเผยว่า หลังจัดสรรวัคซีนโควิด 19 ซิโนฟาร์มให้กับองค์กรต่าง ๆ แล้ว รอบใหม่จะจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองด้วย
จองอย่างไร ?
- เปิดให้จองผ่านแอปพลิเคชันที่จะเปิดให้ดาวน์โหลดและจองในวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2564 โดยในล็อตแรกจะให้จอง 30,000-50,000 คน จากนั้นจึงจะเปิดให้จองอีกครั้งหลังผ่านไป 4-5 วัน
ราคาเท่าไหร่ ?
- ราคาที่จะเปิดจองไม่เกินเข็มละ 888 บาท เท่ากับราคาที่องค์กรต่าง ๆ หากเป็นไปได้จะทำให้ราคาต่ำกว่านี้
จองแล้วต้องทำอย่างไรต่อ ?
จองแล้วต้องทำอย่างไรต่อ ? - ประชาชนทั่วไปเมื่อจองวัคซีนผ่านแอปฯ และโอนเงินเพื่อจองเป็นเจ้าของวัคซีนแล้ว สามารถไปฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลได้
ศ.นพ.นิธิ ยังระบุว่า จะจัดซื้อวัคซีนยี่ห้ออื่นๆ มาเพิ่มเติมจากซิโนฟาร์มหรือไม่นั้น กำลังมองหาวัคซีนสำหรับอนาคต สำหรับกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีความสามารถ ในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่เพราะต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิเป็นระยะๆ ซึ่งทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้จองไว้บ้างแล้ว แต่ไม่มากนักและต้องรอเวลาที่จะได้รับการจัดสรรจากบริษัทผู้ผลิตเนื่องจากทั่วโลกยังมีความต้องการและมียอดจองไปถึงกลางปีหน้าแล้ว “ทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ ตอนนี้มีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ จะเป็นวัคซีนเชื้อตาย หรือวัคซีนที่ใช้การดัดแปลงเปลี่ยนพันธุกรรม หรือจะเป็นวัคซีนที่ใช้ mRNA แต่ที่สำคัญ คือ เราเอามาเพื่อกระตุ้นภูมิ และป้องกันเชื้อสายพันธุ์ใหม่ การเอามาแต่ละครั้งเราต้องดูว่า วัคซีนชนิดไหนประเภทไหนที่มีคุณสมบัติได้แบบนั้น ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเขามีเงินเยอะ เขาจองไปหมดเลย ประเทศไทยมีเงินจำกัด ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เราเป็นหน่วยงานเล็กๆ เราก็ไปดำเนินการจองไว้บ้างบางส่วน เพื่อช่วยประเทศชาติในอนาคต”ศ.นพ.นิธิ กล่าว