เปิดแนว เวนคืนที่ดิน ทั่วประเทศ เตรียมสร้างถนน รถไฟฟ้า รางคู่ 10 จังหวัด
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ในปี 2564 กระทรวงคมนาคมโดยหน่วยงานต่าง ๆ มีแผนงานและจัดงบประมาณสำหรับจะเวนคืนที่ดิน เพื่อเดินหน้าการก่อสร้างตามแผนงานที่ขอจัดสรรไว้ คิดเป็นวงเงินรวม 65,748 ล้านบาท
ทางหลวงเวนคืน 65 โครงการ
แหล่งข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ในปี 2564 กรมมีแผนงานที่จะเวนคืนที่ดินตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 จำนวน 65 โครงการ วงเงินรวม 3,532.879 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.ค่าเวนคืนในเขตการก่อสร้างทางหลวงทั่วประเทศ วงเงิน 1,702 ล้านบาท
2.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 1 จ.เชียงใหม่ วงเงิน 124 ล้านบาท 10 โครงการ เช่น สาย 108 ตอน อ.จอมทอง-อ.ฮอต, สาย 1013 แยกทางหลวงสันป่าตอง-บ้านกาด, สาย 1274 แยกลี้-บ้านแม่บอน, สาย 107 ตอน อ.แม่แตง-ศูนย์ฝึกลูกช้าง, สาย 127 ตอนเลี่ยงเมืองลำปาง ด้านทิศตะวันออก
3.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 2 จ.แพร่ วงเงิน 112 ล้านบาท 4 โครงการ เช่น สาย 1021 ดอกคำใต้-อ.เทิง, สาย 1423 เลี่ยงเมืองเชียงของ, สาย 101 อ.ร้องกวาง-น่าน ตอน 2 และ อ.ร้องกวาง-น่าน ตอนห้วยแก๊ต-บ.ห้วยน้ำอุ่น
4.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 3 จ.สกลนคร วงเงิน 66 ล้านบาท 2 โครงการ สาย 12 ตอนบ้านนาไคร้-บ้านหนองบง และสาย 246 ถนนวงแหวนรอบเมืองสกลนคร ด้านทิศตะวันออก
5.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 4 จ.ตาก วงเงิน 19 ล้านบาท 3 โครงการ สาย 1053 ทางเข้าบ้านหลุม, สาย 1132 วังประจบ-พรานกระต่าย และสาย 12 สุโขทัย-พิษณุโลก ตอน 2
6.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 5 จ.พิษณุโลก 1 โครงการ คือ สาย 1063 ตอนพิษณุโลก-บางกระทุ่ม
7.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 6 จ.เพชรบูรณ์ วงเงิน 13.084 ล้านบาท 4 โครงการ เช่น สาย 2372 วังบาล-น้ำชุน, สาย 2012 บ้านสามแยก-วิเชียรบุรี, สาย 21 สระบุรี-หล่มสัก เวนคืนเพิ่มมอเตอร์เวย์โคราช
8.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 7 จ.ขอนแก่น วงเงิน 38 ล้านบาท 4 โครงการ เช่น สาย 12 แยกกุดฉิม-บ.เมืองใหม่, สาย 228 โนนสูงเปลือย-กกโพธิ์, สาย 22 หนองหาน-อ.สว่างแดนดิน
9.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 8 จ.มหาสารคาม วงเงิน 31 ล้านบาท 2 โครงการ สาย 12 กาฬสินธุ์-นาไคร้ และสาย 23 ร้อยเอ็ด-เสลภูมิ
10.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 9 จ.อุบลราชธานี สาย 2085, 2178 แยกสาย 24-อุบลราชธานี (บ้านน้ำเกลี้ยง)
11.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 10 จ.นครราชสีมา วงเงิน 642 ล้านบาท 5 โครงการ เช่น ถนนวงแหวนรองเมืองนครราชสีมา, สาย 3646 ทดน้อย-หนองเอี่ยน
12.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 11 จ.ลพบุรี วงเงิน 15.05 ล้านบาท 2 โครงการ เวนคืนเพิ่มมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช 15 ล้านบาท และทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านเหนือ
13.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 12 จ.สุพรรณบุรี วงเงิน 3.37 ล้านบาท สาย 333 การุ้ง-อุทัยธานี, สาย 3422 ลาดบัวหลวง-สองพี่น้อง
14.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 13 กรุงเทพฯ เวนคืนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช เพิ่ม 20.414 ล้านบาท ตัดถนนในพื้นที่ EEC
15.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 14 จ.ชลบุรี วงเงิน 163 ล้านบาท 5 โครงการ เช่น จุดตัดสาย 3 กับแยกเข้าอำเภอท่าใหม่ สาย 331 แยกต่างระดับ-แยกเกตเวย์, สายฉะเชิงเทรา-พนัสนิคม 16.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 15 จ.ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 37.8 ล้านบาท 6 โครงการ เช่น สายกรุงเทพฯ-คลองพรวน, สายชุมพร-ลำปลาทิว
17.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 16 จ.นครศรีธรรมราช วงเงิน 15.289 ล้านบาท 2 โครงการ สาย 408 นครศรีธรรมราช-เชียรใหญ่-หัวไทร และสายกาญจนดิษฐ์-สาย 401 บ้านใน
18.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 17 จ.กระบี่ วงเงิน 146 ล้านบาท 5 โครงการ เช่น ช่วงชุมพร-ระนอง ทางเลี่ยงเมืองภูเก็ต, สาย 4367 โคกเจียด-ไสเสียด, สาย 4027 สนามบินภูเก็ต-ท่าเรืออ่าวปอ และ 19.ค่าเวนคืนที่ดินในเขตการก่อสร้างทางหลวง สำนักงานทางหลวงที่ 18 จ.สงขลา วงเงิน 376 ล้านบาท 5 โครงการ เช่น สาย 42 คลองแงะ-นราธิวาส สาย 4369 พรุเดียว-ด่านศุลกากรแห่งที่ 2 สร้างถนนชนบท 3 สาย
นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า ในปี 2564 กรมมีแผนเวนคืน 3 โครงการ รวม 615 ล้านบาท ได้แก่ สาย ง2 ผังเมืองรวมกระบี่ จ.กระบี่ 27 ไร่ วงเงิน 250 ล้านบาท 2.สาย ก ผังเมืองรวมสระแก้ว จ.สระแก้ว 320 ไร่ วงเงิน 200 ล้านบาท และ 3.สาย จ ผังเมืองรวมเมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร 132 ไร่ วงเงิน 165 ล้านบาท เปิดโผ 10 จังหวัดสร้างทางคู่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด้านการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในปี 2564 เตรียมเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 สาย วงเงิน 20,740 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินแล้ว ได้แก่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีค่าเวนคืน 10,660 ล้านบาท จำนวน 7,292 แปลง ที่ดิน 9,661 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 1,200 หลังคาเรือน ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย สร้าง 26 สถานี ลานขนถ่ายสินค้า 4 แห่ง ลานกองเก็บตู้สินค้า 1 แห่ง ก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ 4 อุโมงค์ ก่อสร้างถนนยกข้ามทางรถไฟ 40 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ 102 แห่ง
และสายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 10,080.33 ล้านบาท มีเวนคืน 7,100 แปลง หรือ 17,500 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 930 หลัง ใน 6 จังหวัด บางส่วนในท้องที่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น, อ.กุดรัง อ.บรบือ อ.เมือง จ.มหาสารคาม, อ.ศรีสมเด็จ อ.เมือง อ.จังหาร อ.เชียงขวัญ อ.โพธิ์ชัย อ.โพนทอง อ.เมยวดี อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด,
อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร, อ.นิคมคำสร้อย อ.เมือง อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร และ อ.ธาตุพนม อ.เรณูนคร อ.เมือง จ.นครพนม ทั้ง 2 สาย ร.ฟ.ท.ตั้งงบประมาณปี 2565 ไว้แล้ว เริ่มจ่ายค่าเวนคืนตั้งแต่เดือน ต.ค. 2564-2566
นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.มีเวนคืนสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. รอ ครม.อนุมัติ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ทั้งโครงการมีเวนคืน 2,815 ไร่ วงเงิน 5,637.85 ล้านบาท และมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. ค่าเวนคืน 4,700 ล้านบาท มีที่ดิน 919 ไร่ เร่งรถไฟฟ้าสีม่วง-สีส้ม
ส่วนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีรถไฟฟ้า 2 สายที่คาดว่าจะเริ่มเวนคืนปีนี้ มีสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. ซึ่ง พ.ร.ฎ.เวนคืนประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่ง รฟม.ตั้งงบฯเวนคืน 15,913 ล้านบาท มีที่ดิน 500 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 300 หลังคาเรือน
มีเขตบางซื่อ ดุสิต พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ธนบุรี คลองสาน จอมทอง ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
ส่วนสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 13.4 กม. มีค่าเวนคืน 14,611 ล้านบาท มีพื้นที่รวม 505 แปลง หรือ 41 ไร่ 1 งาน 96 ตร.ว. รวม 331 หลัง อยู่ระหว่างรออนุมัติ พ.ร.ฎ.เวนคืน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาให้แนบไปพร้อมกับการขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ